ขนมชาววัง ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมไทย สูตรขนมบุหลันดั้นเมฆ สูตรทำขนมไทย

วิธีทำ ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมชาววังหาทานยาก

Home / สูตรขนม เครื่องดื่ม / วิธีทำ ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมชาววังหาทานยาก

วันนี้มาเสนอสูตรขนมโบราณกันหน่อยค่ะ เผื่อคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่รู้จักกับ ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมสีฟ้าส่วนตรงกลางเป็นสีเหลือง คล้ายๆ พระจันทร์ลอยอยู่กลางท้องฟ้า เป็นขนมเสี่ยงทายของคนสมัยก่อน เกี่ยวกับหน้าที่การงาน หากใครหยอดสีเหลืองตรงกลาง นึ่งแล้วออกมาเป็นรูปดวงจันทร์ที่สวยงามแสดงว่าโชคดี หากนึ่งออกมาแล้วไม่สวยถือว่าโชคไม่ดีนั่นเอง ส่วนตอนนี้จะโชคดีหรือไม่ลองไปทำตามวิธีทำนี้เลยค่ะ

วิธีทำ ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมชาววังหาทานยาก

ส่วนประกอบ

  • แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
  • แป้งถั่ว 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
  • น้ำดอกมะลิ 3 ถ้วยตวง
  • ดอกอัญชัน 12-15 ดอก
  • ไข่ไก่ใช้แต่ไข่แดง 12 ฟอง
  • น้ำตาลทรายบดละเอียด 4 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ 

  1. ต้มน้ำดอกมะลิ 1 ถ้วยตวงให้เดือดใส่น้ำตาลทรายลงไป พอเดือดสักครู่จึงยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
  2. นำดอกอัญชันเด็ดขั้วทิ้ง ล้างเบาๆ ให้สะอาดใส่ไว้ในถ้วยเล็กๆ เทน้ำร้อนจัดลงไป ชง เล็กน้อย จะได้น้ำสีดอกอัญชัน
  3. แป้งข้าวเจ้าใส่ชามรวมกับแป้งถั่ว นวดด้วยน้ำลอยดอกมะลินิดหน่อย นวดไปสักครู่จึงเติมน้ำทั้งหมดลงไปละลายให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำเชื่อม 1 ถ้วยตวง และสีอัญชัน 1-2 ช้อนชา
  4. เรียงถ้วยตะไลเล็กๆ ในลังถึง นึ่งในน้ำเดือดพล่าน จนถ้วยร้อนจัด คนแป้งให้ทั่วแล้วตักหยอดให้ถ้วยเต็มโดยเร็ว เสร็จแล้วปิดฝาลังถึงนึ่งไปประมาณ 1 นาที แป้งจะจับขอบถ้วยเล็กน้อย เปิดฝาแล้วนำลังถึงลง หยิบถ้วยขนมเทแป้งส่วนที่ยังไม่สุกออกทุกถ้วย
  5. ใช้ไข่แดงผสมกับน้ำตาลบดละเอียด ตักหยอดกลางถ้วยแทนที่แป้ง เทออกจนเต็ม นึ่งขนมต่อไปจนสุก ยกลงปล่อยให้เย็นจึงใช้ไม้พายเล็กๆ แคะขนมเรียงใส่จาน

เรียบเรียงโดย Food MThai

ดูคลิปอื่นๆ เพิ่มเติม กินข้าวกัน

20150204_4804_1423036106_488359

ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของขนมบุหลันดั้นเมฆ

ขนมบุหลันดั้นเมฆ เป็นขนมในสมัยโบราณคิดค้นขึ้น โดยแรงบันดาลใจ จากเพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือบุหลันลอยฟ้า เพลงพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ในความฝันเกี่ยวกับดวงจันทร์…ขนมนี้ได้ทำขึ้นเลียนแบบเสมือนดวงจันทร์ลอยอยู่กลางท้องฟ้า…ขนมนี้มีรสชาติอร่อย นุ่มลิ้น หอมหวาน #ในสมัยก่อนมักจะนิยมใช้เป็นขนมบุหลันดั้นเมฆนี้เป็นขนมเสี่ยงทาย เกี่ยวกับ หน้าที่การงาน ในส่วนของบุหลัน(ดวงจันทร์)สีเหลือง เวลาหยอดแล้วนำไปนึ่ง จะขึ้นสวยหรือไม่? ต้องเสี่ยงทายดู…ถ้าส่วนขนมที่เป็นแทนเสมือนดวงจันทร์เมื่อนึ่งแล้ว ผลออกมาสวยงาม สมบูรณ์ แสดงว่าสิ่งที่มุ่งหวังหรืออธิฐานไว้จะประสบความสำเร็จดังใจหมาย

#เมื่อไปเที่ยวเมืองแปดริ้ว เมืองที่เล่าขานกันมาว่าเป็นดินแดนที่ศักดิ์สิทธิ์มีพระลอยน้ำมาคือ”หลวงพ่อโสธร” และเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มาก แม้นแต่ในน้ำยังมีปลาชุกชุมโดยเฉพาะปลาช่อนตัวโตมากๆ ขนาดนำมาแล่เป็นชิ้นๆหรือริ้วๆได้นับได้ถึงแปดริ้ว เป็นที่มาของชื่อที่ชาวบ้านทั่วไปมักนิยมเรียกชื่อจังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างไม่เป็นทางการว่า”เมืองแปดริ้ว” ซึ่งมีคำขวัญว่า แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์

#เมื่อไปเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือเมืองแปดริ้ว คราวใด นอกจากจะได้เที่ยวใกล้กรุงเทพฯแล้ว ครั้งต่อไปต้องห้ามพลาดกับการไปเที่ยวกินอาหารถิ่นเมนูแนะนำขนมหวานโบราณ “บุหลันดั้นเมฆ” ที่อยู่ในตลาดคลองสวน 100 ปี สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดฉะเชิงเทรา แห่งหนึ่งเป็นที่รู้จักดีของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ตลาดนี้ตั้งอยู่รั้วติดกับเขตแดนของจังหวัดสุมทรปราการ ที่อำเภอบางบ่อ….นับได้ว่าถ้าไปเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปีเสมือนได้เที่ยวครั้งเดียว 2 จังหวัดเลย

นอกจากนี้..เขาเล่ายังเล่าว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นี่มีมหาเทพแห่งความสำเร็จ 3 ปาง(คือ นอน-นั่ง-ยืน) องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่เมืองแปดริ้ว แห่งนี้

ประกอบด้วย :- พระพิฆเนศองค์นอน ที่วัดสมานรัตนาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศองค์นั่ง ที่วัดโพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศองค์ยืน ที่อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา

#พระศิวะเคยกล่าวไว้ว่า…..การบูชาเหล่ามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ใดต้องการความสำเร็จ ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ให้บูชา “มหาเทพ” เทพแห่งปัญญาและศิลปะ องค์นี้ก่อนทุกครั้ง และตามความเชื่อโบราณเชื่อว่าถ้าอยากขอพรให้สมหวังจากองค์เทพแห่งความสำเร็จ”พระพิฆเนศ” ให้ได้ผลเร็วขึ้น อย่าลืมไปตามหาหนูและไปกระซิบขอพรที่หูหนูบริวารของพระพิฆเนศ….แล้ว หนูซึ่งบริวาร(ศิษย์)พระพิฆเนศ จะนำข้อความที่ท่านขอไปเตือนท่านพระพิฆเนศให้ประทานพรสิ่งที่ต้องการกลับมาโดยเร็วโดยมีเคล็ดลับ “เขาเล่าว่า….” จะต้องเอามืออีกข้างหนึ่งปิดที่หูหนูไว้ข้างหนึ่ง กระซิบอีกข้างหนึ่ง (เพื่อไม่ให้เป็นไปตามสุภาษิตไทยที่ว่า เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา)

ที่มาจาก ททท.สนง.กรุงเทพมหานคร